ประวัติของคณะ ICT

ในขณะที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามาใช้ ประโยชน์มาก ขึ้นจึงมี ความจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ก้าวตามทัน เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมกับ สามารถประยุกต์ศาสตร์ แขนงดังกล่าวไป ใช้งาน ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยศิลปากร อันมีเป้าหมายหลักในการผลิตบัณฑิต ทุกระดับปริญญาให้มี ภูมิปัญญาสูง ความคิดสร้างสรรค์ยึดมั่นในคุณธรรม เพรียบพร้อมด้วยจรรยาบรรณและจิตสำนึก ในความรับ ผิดชอบต่อสังคมจึง เล็งเห็นความสำคัญและมุ่งหวัง การผลิต บัณฑิต ในสาขาวิชาที่สามารถ ประยุกต์ความรู้และมีทักษะเพื่อเป็น บุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินงานของ องค์กร และเป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงานจึงมีแนวคิดที่จะผลิตบัณฑิตโดย อยู่ บนพื้นฐานของการนำศักยภาพที่มีอยู่ ของ มหาวิทยาลัยมาประยุกต์ โดยเฉพาะศักยภาพด้านศิลปะที่จัดอยู่ ในระดับแถวหน้า ของมหาวิทยาลัย ในประเทศไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงได้พัฒนาโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ซึ่งรับผิดชอบการ จัดการเรียนการ สอนขึ้น ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความ สำคัญทางเศรษฐกิจจังหวัดหนึ่งใน ภูมิภาคตะวันตกของประเทศ อันจะทำ ให้บัณฑิตที่จบการศึกษาจำนวนหนึ่ง สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงาน พัฒนาความเจริญให้กับ ชุมชน ท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนความ ก้าวหน้าทางธุรกิจได้
โดยในเริ่มดำเนินการสอน ในภาคการศึกษาต้นมาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2546 ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจและ สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการออกแบบ และได้กำหนดแผนการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป อีกหลายสาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง สาขาวิชาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ และสาขาวิชาภาพนิ่ง
วิสัยทัศน์ เป็นคณะวิชาชั้นนำโดยผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่คุณธรรม และเป็นองค์กรแบบ Smart Faculty
พันธกิจ
1. ส่งเสริม พัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและผลิตบัณฑิต ที่มีความสามารถ ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม
2. ส่งเสริม พัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับการบริหารจัดการในทุกภาคส่วนของคณะฯ
3. ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการ กำกับดูแล ติดตามและ ประเมินผลแผนงานโครงการต่างๆของคณะฯ ให้บรรลุ ตามเป้าหมาย ที่ได้กำหนดไว้
4. ส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการวิชาการตลอดจน การแสวงหา ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
5. ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรผลิตงานวิจัยและ สร้างนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 6. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้วยองค์ความรู้ทางด้าน ICT
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น