15/9/53
14/9/53
ละครเวที รุ่นแรก " ล่า ท้า ฝัน "
เรื่องย่อ
จากบทละครเยอรมันเรื่อง Creeps เขียนโดย Lutz Huner สู่การแปลและดัดแปลงเป็นละครเวทีเรื่อง ล่าท้าฝัน ซึ่งเป็นเรื่องราวของวัยรุ่นสามสาว สามที่มา สามคาแรกเตอร์ ร่วมกันถ่ายทอดชีวิตวัยรุ่นที่หวั่นไหวไปกับกระแสอำนาจสื่อ จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อพวกเธอได้รับการคัดเลือกมาเป็น VJ ให้กับโครงการ Be your self Be your style @ Be Channel ในรายการโทรทัศน์ที่กำลังเปิดตัวใหม่ล่าสุด และจะต้องประชันกันในรอบสุดท้ายพร้อมทั้งแสดงความสามารถทางด้านการร้อง เล่น และเต้น โดยมีเสียงสั่งการจากโปรดิวเซอร์ที่มองไม่เห็นเป็นตัวคอยควบคุมสถานการณ์ ตลอดเวลา ทั้งสามสาวจะฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านี้ไปได้หรือไม่ (แล้วใครจะไปถึงฝัน ? )
ตัวละคร
กีกี้ สาวชาวกรุง พกพาทั้งความสวยและไฮโซ เธอเป็นสาวสมัยใหม่ที่เพียบพร้อมทั้งรูปร่าง หน้าตา ความสามารถ ฐานะทางบ้าน ทุกอย่างในชีวิตเรียกได้ว่า ถูกสรรค์สร้างมาเพื่อเธอและการแข่งขันครั้งนี้จึงเหมือนเป็นบทพิสูจน์ความ สามารถที่แท้จริงของเธอด้วยเช่นกัน
มินนี่ สาวเรียบร้อย น่ารัก มาดนิ่ง ผู้มาจากเชียงใหม่ เธอคือหญิงสาวที่มีความฝันอัดแน่นอยู่ในตัว รวมถึงความมุ่งมั่นที่จะทำความฝันนั้นให้เป็นจริง
พลอยสี เธอมาจากสระแก้ว เธอคนนี้เป็นสาวมั่นที่มีสไตล์เป็นของตัวเอง เธอหลงใหลในการเต้น และมีความสดใสอยู่ในตัวบวกกับความกล้าในการแสดงออกอย่างถึงรส การแข่งขันครั้งนี้จึงไม่น่าแปลกใจหาก
จุดเด่นของนิเทศศาสตร์ไอซีทีศิลปากร
นิเทศศาสตร์ ไอซีทีศิลปากร มีจุดเด่นอันดับแรกสุด คือ เป็นลูกพระพิคเณศ ศิษย์อาจารย์ศิลป พีระศรี เรียนนิเทศฯ เหมือนชาวบ้านทั่วๆไป แต่ที่เด่นก็คือเรื่องการออกแบบและศิลปวัฒนธรรม เพราะว่าอยู่ในมหาวิทยาลัยศิลปที่เก่าแก่ที่สุดใน Southeast Asia และก็มีความชำนาญด้านการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าเด็กนิเทศฯ มหาวิทยาลัยอื่นๆ เนื่องจากอยู่ในคณะ IT ประกอบกับ Maggazine หนังสือพิมพ์ โฆษณา Radio TV ฯลฯ ต่างก็เปลี่ยนสนาม มาเล่นกันบน Internet นับวันก็จะมากขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นบัณฑิตทางนิเทศศาสตร์ที่มีความสามารถทางการออกแบบ และชำนาญทางด้าน IT จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น จึงเป็นที่ไปที่มาของการสร้างหลักสูตรนิเทศศาสตร์ใน ICT@SILPAKORN และ หลักสูตรนิเทศศาสตร์เรียนที่กรุงเทพตลอด 4 ปีของหลักสูตร บางสายวิชา เช่นภาพยนตร์ อาจจะต้องไปใช้โรงถ่ายที่เพชรบุรีเป็นบางครั้ง นอกนั้นก็จะเรียนวนเวียนอยู่ในกทม. สำหรับหลักสูตรนิเทศฯ เรียนไม่หนักเหมือนไอทีออกแบบ แต่หนักกว่านิเทศฯ ที่อื่นๆ เพราะมีงานออกแบบทุกชั้นปี (ยกเว้น สายวิชาลูกค้าสัมพันธ์ และวารสารหนังสือพิมพ์ เรียนเพียงเทอมแรกเทอมเดียว) อย่างไรก็ตามในแต่ละสายวิชาก็มีทั้งพวกที่ออกแบบ และพวกสร้าง Content ใครที่เป็นแบบหลังก็อ่อนออกแบบหน่อย
ประวัติของคณะ ICT
โดยในเริ่มดำเนินการสอน ในภาคการศึกษาต้นมาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2546 ใน 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจและ สาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการออกแบบ และได้กำหนดแผนการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป อีกหลายสาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์ สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง สาขาวิชาภาพยนตร์และวิดีทัศน์ และสาขาวิชาภาพนิ่ง
วิสัยทัศน์ เป็นคณะวิชาชั้นนำโดยผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ควบคู่คุณธรรม และเป็นองค์กรแบบ Smart Faculty
พันธกิจ
1. ส่งเสริม พัฒนาการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและผลิตบัณฑิต ที่มีความสามารถ ควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรม
2. ส่งเสริม พัฒนา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อรองรับการบริหารจัดการในทุกภาคส่วนของคณะฯ
3. ส่งเสริม สนับสนุน ดำเนินการ กำกับดูแล ติดตามและ ประเมินผลแผนงานโครงการต่างๆของคณะฯ ให้บรรลุ ตามเป้าหมาย ที่ได้กำหนดไว้
4. ส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการวิชาการตลอดจน การแสวงหา ความร่วมมือทางด้านวิชาการ ทั้งในและต่างประเทศ
5. ส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากรผลิตงานวิจัยและ สร้างนวัตกรรม เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 6. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้วยองค์ความรู้ทางด้าน ICT
"ศิลป์ พีระศรี" ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย
เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปี พ.ศ.2441 ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราช-วิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปี และได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญา บัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และ ปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
| |
|
|
ในสมัยรัชกาลที่ 6 มี พระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูป ได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติราชการ กับรัฐบาลไทยทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง
เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการท่าน ได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้ง ภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู ผู้ที่มา อบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่ง เสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานซึ่ง ต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบา ภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทาง ราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีต ศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง"และในปี พ.ศ.2485กรม ศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขา หนึ่งของชาติ
จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรม ศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรมีคณะ จิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง2 สาขา วิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรกดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับ ปริญญาขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม
ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือเป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ(International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497ได้ เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วม สมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand)ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้นศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี
13/9/53
สัมภาษณ์เด็กนิเทศ รุ่นที่ 1
ทวิชา ภัทรแสงไทย (พีท)
รู้จักคณะนี้จาก ? : เพื่อน
อนาคตใฝ่ฝันอยากเป็น ?: นักโฆษณา
รู้สึกอย่างไรกับการได้เข้ามาเรียนในคณะฯนี้ :
สนุก รู้สึกดี ที่มีโอกาสได้เข้ามาเรียนที่นี่ ภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของศิลปากรด้วยค่ะ
ข้อคิด - ความรู้ที่ได้รับหลังจากที่ได้เข้ามาเรียน :
ต้องมีความ รับผิดชอบมากขึ้น ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และรักพวกพ้อง
รู้สึกอย่างไรกับการได้เป็นรุ่นแรกของสาขานิเทศศาสตร์ :
ภูมิใจ ที่ได้เป็นรุ่นแรกของสาขานี้ และอยากให้สาขานิเทศประสบความสำเร็จ
ฝากถึงน้องๆ ที่อยากจะเข้ามาเรียนคณะนี้ :
น้องๆ ที่สนใจอยากเข้าคณะ ICT ถ้าชอบแล้วมาศึกษาคณะนี้จะไม่มีคำว่าผิดหวังค่ะ
นาชาวดี จนทิศปัญญา (บุ้งกี๋)
รู้จักคณะนี้จาก ? : เพื่อน ๆ
อนาคตใฝ่ฝันอยากเป็น ?: คอลัมนิสน์
รู้สึกอย่างไรกับการได้เข้ามาเรียนในคณะฯนี้ :
ชอบ สนุกดี มหาวิทยาลัยนี้มีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่รู้ เพื่อนๆ และรุ่นพี่ก็น่ารัก ดูแลรับน้องเป็นอย่างดี
ข้อคิด - ความรู้ที่ได้รับหลังจากที่ได้เข้ามาเรียน :
ทำให้เราต้องขยัน ตั้งใจ และแสวงหาความรู้ให้มากขึ้น เพราะเราเรียนนิเทศ เป็นสาขาที่ต้องกล้าคิด กล้าทำ และแสดงออก
รู้สึกอย่างไรกับการได้เป็นรุ่นแรกของสาขานิเทศศาสตร์ :
ดีคะ ภูมิใจ เพราะเราเป็นรุ่นแรกยิ่งต้องทำให้ดีกว่าเดิม และต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับรุ่นน้อง
ฝากถึงน้องๆ ที่อยากจะเข้ามาเรียนคณะนี้ :
น้องๆ ที่อยากเข้ามาเรียน ต้องรักในสาขาที่อยากจะเข้าจริงๆ และถ้าเราสนใจในสาขาที่จะเข้าจริงๆ จะทำให้เราเรียนได้ดี และมีความสุขคะ
ธีรพงศ์ ทิมมุกดา (ที)
รู้จักคณะนี้จาก ? : อินเตอร์เน็ต
อนาคตใฝ่ฝันอยากเป็น ?: นักหนังสือพิมพ์
รู้สึกอย่างไรกับการได้เข้ามาเรียนในคณะฯนี้ :
ก็รู้สึกสนุกดีครับ เนื่องจากการเข้าคณะนี้นั้นต้องเวลาให้เป็นระหว่างการทำกิจกรรม และการเรียน รวมถึงการมีความรับผิดชอบ
ข้อคิด - ความรู้ที่ได้รับหลังจากที่ได้เข้ามาเรียน :
ต้องไม่ทิ้งการเรียน ขยัน ทำหน้าที่ของตัวเอง ไม่ว่าจะทำไร
รู้สึกอย่างไรกับการได้เป็นรุ่นแรกของสาขานิเทศศาสตร์ :
ก็ถึงแม้ จะเป็นรุ่นแรก แต่ถ้าเราไม่มีรุ่นพี่และรุ่นน้องของคณะเราก็อยู่ไม่ได้ ฝากถึงน้องๆ
ที่อยากจะเข้ามาเรียนคณะนี้ :
ก็คนที่ชอบในการแสดง ออก กล้าคิด กล้าทำ ก็เข้ามากันเยอะๆ
อุมาภรณ์ อ่องสะอาด (แอม)
รู้จักคณะนี้จาก ? : website
อนาคตใฝ่ฝันอยากเป็น ?: ดีเจ (DJ) คะ
รู้สึกอย่างไรกับการได้เข้ามาเรียนในคณะฯนี้ :
รู้สึกชอบคณะนี้มาก สนุกสนานดี เพื่อนๆ และพี่ๆ เป็นกันเอง และมหาวิทยาลัยศิลปากรเปนมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มีการเรียนการสอนที่ดี จึงมีความรู้สึก อยากเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้มากค่ะ
ข้อคิด - ความรู้ที่ได้รับหลังจากที่ได้เข้ามาเรียน :
ทำให้รู้ถึงความสามัคคีของหมู่คณะ ทุกคนต้องมีความรับผิดชอบ มีความเสียสละเพื่อส่วนรวมและมีน้ำใจ
รู้สึกอย่างไรกับการได้เป็นรุ่นแรกของสาขานิเทศศาสตร์ :
รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นรุ่นแรกของสาขานี้ และรู้สึกตื่นเต้นด้วยค่ะ
ฝากถึงน้องๆ ที่อยากจะเข้ามาเรียนคณะนี้ :
น้องๆ ที่อยากจะเข้ามา เรียนคณะนี้ ต้องรู้ตัวเองก่อนว่าอยากเรียนคณะนี้จริงหรือเปล่า ต้องมีความรักในสาขาวิชานี้ มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเข้ามาเรียนค่ะ
ทยาภัทธ ระเบียบพักตร์ (แอ๊ด)
รู้จักคณะนี้จาก ? : อินเตอร์เน็ต
อนาคตใฝ่ฝันอยากเป็น ? : ตากล้องอิสระ (ขาว-ดำ)
รู้สึกอย่างไรกับการได้เข้ามาเรียนในคณะฯนี้ : รู้สึกดีมากๆ รู้สึกดีที่สุด
ข้อคิด - ความรู้ที่ได้รับหลังจากที่ได้เข้ามาเรียน :
มีความเท่าเดิม 24 ชม. แต่ต้องใช้เวลามากขึ้น คือ ต้องจัดสรรเวลาให้ดี
รู้สึกอย่างไรกับการได้เป็นรุ่นแรกของสาขานิเทศศาสตร์ :
กดดัน อะไรที่เป็นสิ่งแรก อย่างแรก มันต้องดี คนอื่นไม่ได้คาดหวังอะไร แต่เราต้องทำให้ ดีที่สุด
ฝากถึงน้องๆ ที่อยากจะเข้ามาเรียนคณะนี้ :
ถ้าน่ารัก เข้ามาเลยครับ ถ้าน่ารักไม่มาก ต้องพยายามทำตัวให้น่ารักมากๆ หน่อย ตั้งใจเรียนให้มากๆ